วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กล้วยไม้นานาพันธุ์

มารู้จักกล้วยไม้กันดีกว่า


ประวัติกล้วยไม้
กล้วย ไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชีย
แปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกา ใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วย ไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
มารู้จักสกุลแรกกันเลยดีกว่า
กล้วยไม้สกุลช้าง
การเพาะเลี้ยง

ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลช้างนั้น เราจะเน้นสูตรเสมอเป็นหลัก โดยจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 18-18-18 ,20-20-20,21-21-21 + ยาเร่งราก เช่น วิตามินB1 ฉีดพ่น อาทิตย์ละ 1ครั้ง สลับกับ ปุ๋ย เร่งดอก สำหรับกล้วยไม้สกุลช้าง เราจะใช้ 16-21-27,13-27-27,9-27-34 +ยาเร่งรากเช่นวิตามิน B1พ่นสลับ โดยจะฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเสมอ 2-3ครั้ง สลับกับ ปุ๋ยเร่งดอก 1 ครั้ง วนไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนกันยายน ให้ ปุ๋ย เร่งดอก สูตร 10-52-17 สัก 2ครั้งติดๆกัน 2อาทิตย์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเตรียมพร้อมให้กล้วยไม้สกุลช้าง ให้ดอกเราในเดือนพฤศจิกายน แล้วให้ปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34 ตามอีกสัก2ครั้ง แล้วมาเริ่ม ใส่ ปุ๋ยสูตรเสมอ วนสลับกับปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34 ตามเดิม แค่นี้กล้วยไม้สกุลช้างก็จะออกดอก ที่สวยงามมาชมกันทุกปี
สกุลที่สองคือ  สกุลแคทลียา

แคทลียา
แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ
เนื่องจากแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสีสวยงามที่สุด บางชนิดมีกลิ่นหอม
และถือกันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไป
แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ
เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก
เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนง
สกุลที่สามคือ   ฟาแลนอปซีส

ฟาแลนอปซีส
กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น
สกุลที่สี่คือ  สกุลเข็ม
สกุลเข็ม
กล้วยไม้สกุลเข็มมีดอกขนาดเล็ก แต่มีสีสวยสะดุดตา ช่อดอกตั้งตรง มีดอกขึ้นติดโดยรอบเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกชั้นนอกและชั้นในมีรูปร่างคล้ายกัน ปากติดอยู่ที่ส่วนโคนของเส้าเกสร หูกระเป๋า มีขนาดเล็กและตั้ง และมีปลายแหลมหรือมน แผ่นปากยางกว่าหู ปลายปากมนเป็นรูปคล้ายลิ้น ชี้ไปข้างหน้าหรือชี้ลงข้างล่าง ปากมีเดือยเป็นถุงยาว โคนเดือยคอดปลายขยายใหญ่ แต่ความยาวของเดือยสั้นกว่าความยาวของก้านดอก เส้าเกสรไม่มีฐาน กล้วยไม้สกุลเข็มกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ไปจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ
1. เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium) ดอกมีสีแดงไปจนถึงสีแดงอมส้ม
2. เข็มแสด (Ascocentrum miniatum) มีสีเหลืองสดไปจนถึงสีเหลืองอมส้ม
3. เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum) มีสีม่วงอ่อนไปถึงม่วงเข้ม
          โรคและแมลงในกล้วยไม้


โรคเน่าดำ
เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห็นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิด และถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว
อาการของโรค
เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป็นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มแล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ
 สำหรับการสังเกตแบ่งได้ดังนี้
อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป็นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง
อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"
อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น
 อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น
อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห็นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้ม
การแพร่ระบาด
เป็นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้
การป้องกัน
 ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป
 ถ้าพบกระถางไหนที่เป็นโรค ควรทำลายทิ้ง
ถ้ากล้วยไม้โตแล้ว ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้สารเคมีป้องกันป้ายบริเวณแผล
ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็นความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา
 สารเคมีที่ใช้ป้องกันโรคตัวนี้มีหลายชนิด คือ
- ฟอสฟอรัส แอซิด อัตรา 30 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงแดดไม่จัด สารตัวนี้ดีในแง่เป้นสารป้องกัน
-อีทริไดอะโซล ใช้ได้ดีแต่ไม่ควรใช้สารนี้ผสมกับปุ๋ยหรือสารเคมีอื่นๆทุกชนิด
-เมธาแลคซิน 35% wp อัตรา 7 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ได้ดีในกรณีกำจัดเชื้อ สารเคมีนี้เป้นสารเจาะจง
ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง และเพื่อไม่ให้เชื้อดื้อยาเร็วต้องพ่นสลับกับสารตัวอื่น เช่น แคปเทน
หรือ แมนโคแซบ เป็นต้น
 โรคเน่า
เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาและนอปซิส
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือ ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล และอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำบนใบจะมีขอบสีเหลืองเห้นชัดเจน ภายใน 2-3 วันเนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห็นร่างแหของเส้นใบ ถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้
การแพร่ระบาด
โรคจะเเพร่ระบาดรุนแรง รวดเร็ว ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่น ช่วงอากาศอบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก
การป้องกัน
เผาทำลายต้นที่เป็นโรค
 ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะ อาการเน่าจะหยุดชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ
 ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลา เมื่ออากาศภายนอกร้อนอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่าย การให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วน เร่งการเจริญเติบโต รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำใหต้นอวบ เหมาะแก่การเกิดโรค
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้สารปฏิชีวะนะ เช่น แอกกริมัยซิน ไฟโตมัยซิน แอกกริสสเตรป อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่สารประเภทนี้มีข้อจำกัด ควรพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งอาจทำให้สารเสื่อมฤทธิ์และไม่ควร
ผสมกับสารอื่นๆ
          โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด
เป็นโรคที่พบตามตามปลูกกล้วยไม้ทั่วๆไป โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อนชื้น
ลักษณะอาการ
เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้น แล้วลุกลามไปยังส่วนโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนสีเหลืองและน้ำตาลตามลำดับ เนื้อเยื่อจะผุเปื่อยถ้าอากาศชื้นมากๆ จะมีเส้นใยสีขาวแผ่คลุมบริเวณโคนต้นพร้อมกับมีเมล็ดกลมๆ
ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักผกาดเกาะอยู่บริเวณโคนต้น บางครั้งจะแสดงอาการที่ใบทำให้ใบเน่าเป้นสีน้ำตาล
การแพร่ระบาด
เชื้อราแพร่ระบาดไปทางดิน โดยการเคลื่อนย้ายดินหรือเครื่องปลูกที่มีเชื้อ อาศัยอยูไปตามที่ต่างๆ ในเรือนกล้วยไม้ การวางกระถางติดกันมาก การให้ความชื้นสูง การฉีดพ่นน้ำที่มีกำลังแรงเกินไปเหล่านี้จะทำให้โรคระบาดไปได้รวดเร็ว
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
เชื้อสาเหตุเจริญไดดีในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง ปกติอยู่ในช่วงระหว่าง 46 F - 99Fแต่ที่เหมาะสมที่สุด 85 F ที่อุณหภูมิประมาณ 55 f เชื้อไม่ค่อยเจริญเติบดตเท่าใด
การป้องกันกำจัด
ใช้เครื่องปลูกที่สะอาดปราศจากโรค
 ใช้น้ำสะอาดในการรดน้ำ
ไม่ควรปลูกหรือย้ายต้นไม้ขณะอากาศแปรปรวน
ถ้าเริ่มเป้นโรค ควรตัดส่วนเป้นโรคออกมาให้มากพอสมควร แล้วนำต้นกล้วยไม้ไปแช่ในสารละลายนาตรีฟิน(Natriphene) อัตรา 1:2000 แช่นาน 1 ชั่วโมง
ในเรือนกล้วยไม้ ก่อนมีการปลูก ควรฉีดพ่น คลอร๊อกซ์ chlorox 10% ตามผนังและพื้น จะช่วยระงับยับยั้งการทำลายของเชื้อได้
 สารเคมีซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า ไวตาแวกซ์ (Vitavax) จัดว่าเป้นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรค
    โรคเน่าเละ 
เป็นโรคที่เกิดเสมอในกล้วยไม้หลายสกุล ซึ่งจากรายงานพบว่า กล้วยไม้จำพวก แคทลียา ออซิเดียม ฟาแลนนอป ซิมบิเดียม แวนด้าลูกผสมและเข็ม มักเป็นโรคนี้ โดยอาการเริ่มแรกจะเป้นจุดฉ่ำน้ำก่อน ต่อมาจะลุกลามเป็นแผลขนาดใหญ่สีน้ำตาล และยุบตัวลง
ลักษณะอาการ
จะเกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ลำลูกกล้วย ลำต้นและใบ โดยระยะแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่อ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเนื้อเยื่อบวม คล้ายน้ำร้อนลวก ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความชื้นสูง อาการจะขยายรุกรามเร็วขึ้น ทำให้เกิดอาการเน่าเละ มีกลิ่นบูดเหม็นจัด ใบจะหลุดภายใน 2-3 วัน อาจทำให้กล้วยไม้ตายได้
การแพร่ระบาด
โรคนี้จะระบาดรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูร้อนต่อฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียสามารถติดไปกับน้ำฝน และเชื้อจะเข้าทำลายพืชทางช่องเปิดธรรมชาติและบาดแผล
การป้องกันกำจัด
สามารถปฎิบัติได้เช่นเดียวกันกับการป้องกันโรคเน่าเละ
สารเคมีปฎิชีวนะ เช่น อะกริมัยซินสเตรปโตมัยซิน(Streptomycin) ใช้สำหรับการป้องกันกำจัดโรคพืชได้ โดยผสมอัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
(ข้อพึงระวังว่าอย่าใช้ในอัตราที่เข้มข้นเกินไปและพ่นบ่อยๆ จะทำใหใบกล้วยไม้กลายเป็นสีเหลืองซีดขาวเห็นได้ชัดกับประเภทแวนด้า แอสโคแซ
     โรคใบปื้นเหลือง
ลักษณะอาการ  ใบแก่ใบโคนต้นเหลืองเป็นปื้นมีผงสีดำคล้ายผงดินสอกระจายอยู่ถ้าทิ้งไว้ใบจะเหลืองดำทั้งใบ และหลุดร่วงจากต้นจะระบาดตอนย่างเข้าฤดูหนาวควรจะนำใบที่เป็นโรคเก็บทิ้งเผาไฟ
การป้องกัน  สารเคมีที่ใช้สำหรับป้องกันโรค
ประเภทดูดซึม เช่น ฟันดาโซล, มัยซิน, เดอโรซาล, บาวิสติน, เอฟเเอล
ประเภทไม่ดูดซึม เช่น แมนโคเซบ, ไดเทน เอ็ม 45 การฉีดควรฉีดทั่วทั้งใบและลำต้นโดยเฉพาะใต้ใบ
  โรคขี้กลาก
ลักษณะอาการ   เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำ เหมือนเมล็ดข้าว กระจัดกระจายบนใบ จนกลายเป็นใบปื้นน้ำตาลเข้ม จับดูจะรู้สึกสากมือ
การป้องกัน   สารเคมีที่ใช้สำหรับป้องกันโรค เช่น เดลซีนเอ็ม เอ็กซ์, เบนเลท ผสมกับ ไดเทน แอลเอฟ  หรือ บาวิสติน, เอฟ แอล ผสมกับ ไดเทน เอ็ม 45
    การจัดแต่งกล้วยไม้ในบ้าน,สำนักงาน



"กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์" ของดีอุดรธานี




กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ดอกสวยกลิ่นหอม
กล้วยไม้เป็นพืชสกุลหนึ่งที่บรรดาคนรักธรรมชาติในเมืองไทยนิยมเลี้ยงกัน และจัดเป็นพืชดอกสกุลหนึ่งที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์มากที่สุด ที่จังหวัดอุดรธานีมีกล้วยไม้หอมชนิดหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงระบือนามให้แก่จังหวัดอุดรธานีและประเทศไทยเป็นอย่างมากนั้นคือ "กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์"
"กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์" จัดเป็นกล้วยไม้ลูกผสม ที่ ดร.ประดิษฐ์ คำเพิ่มพูล เจ้าของสายพันธุ์ชาวจังหวัด อุดรธานี คิดค้นพัฒนาปรังปรุงสายพันธุ์กว่า 11 ปี จัดเป็นกล้วยไม้ในสกุลแวนด้าลูกผสม ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของ แวนด้า โจเซฟิน แวนเบอโร่ (ใบร่อง) ใช้เป็นต้นแม่ซึ่งไม่มีกลิ่นหอมกับกล้วยไม้ป่าของไทย คือ แวนด้า สามปอยดง (ใบแบน) ใช้เป็นต้นพ่อ
โดยเริ่มผสมเกสรเมื่อปี พ.ศ. 2520 และเริ่มออกดอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งผลพบว่าดอกจะมีสีแดงจัดในช่วงฤดูหนาว โดยจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลา 09.30-15.30 น. และจะมีสีทองเคในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนโดยจะส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลา 06.00-13.00 น.
น้ำหอมสกัดจากกล้วยไม้แท้ๆ
กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ได้รับการยกย่องในวงการกล้วยไม้ของไทย ว่าเป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่มีกลิ่นหอมที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะของการให้ดอกจะมีมากในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-เมษายน ประมาณ 8 เดือน พอเข้าฤดูฝนจะออกดอกไม่มากนัก
ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากกล้วยไม้หอมก็ถูกแปรสภาพ นำมาสกัดเป็นน้ำหอม ออกจำหน่ายเมื่อปีพ.ศ.2533ภายใต้ชื่อว่า “Miss Udorn Sunshine” ช่างเป็นความน่าภูมิใจเพราะเป็นน้ำหอมจากกล้วยไม้แท้ ๆ ชนิดเดียวของโลก กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องในวงการกล้วยไม้ไทยเท่านั้น
แต่ในวงการไม้ดอกของโลก ยังถือว่าการค้นพบกล้วยไม้อุดรซันไฌน์เป็นความสำเร็จสูงสุด หลังจากที่นักปรับปรุงพันธุ์ชาวฮอลแลนด์ เคยสร้างทิวลิปดำขึ้นมาได้สำเร็จในศตวรรษที่ 17 ซึ่งน้ำหอมของที่นี่ไม่ได้มีเพียงน้ำหอมที่สกัดจากกล้วยไม้หอมอุดรซันไซน์เพียงอย่างเดียงยังมีน้ำหอมที่สกัดกลิ่นมาจาก "แมงแกง" และ "หญ้าตูบหมูบ"อีกด้วย
การปลูกและบำรุงรักษากล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์นั้น จะต้องปลูกในกระถางที่มีรูโดยรอบ ในเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 นิ้ว ให้ถูกแสงแดดประมาณ60%ให้ตั้งกระถางให้สูงจากระดับพื้น 1-2 ฟุต การตัดดอกจะตัดเฉพาะช่อดอกที่มีดอกตูมติด2-3ตูมเสมอเพราะดอกจะอยู่ทนได้หลายวัน




มาชมกล้วยไม้สวยๆกันเลย